เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทส ธมฺเม ปูรยิตฺวาน ได้แก่ บำเพ็ญ
บารมีธรรม 10. บทว่า กนฺตารํ สมติกฺกมิ ได้แก่ ก้าวล่วงชาติกันดาร.
บทว่า ปวาหิย แปลว่า ลอยแล้ว. บทว่า มลํ สพฺพํ ได้แก่ มลทิน 3
มีราคะเป็นต้น. บทว่า ปาฏิหีรํ กโรนฺเต จ ปรวาทปฺปมทฺทเน ความว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของฝ่ายปรปักษ์.
บทว่า วิกุพฺพนํ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมก-
ปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสุนทรนคร แล้วเสด็จไปเทวโลก จำพรรษาเหนือ
พระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น. ถามว่า ทรงจำพรรษาอย่างไร
ตอบว่า ทรงแสดงอภิธรรม 7 คัมภีร์. อธิบายว่า ทรงอยู่จำพรรษา แสดง
พระอภิธรรมปิฏก 7 คัมภีร์แก่เทวดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ที่นั้นอย่างนี้ อภิสมัยได้มีแก่เทวดาหมื่นโกฏิ.
แม้พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มาบำเพ็ญบารมีอันบริสุทธิ์ มีสาวก
สันนิบาตครั้งเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุรินทวดีอุทยาน
กรุงสุรินทวดี ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์คือ ภิยโยสราช-
โอรส
และอุตตรราชโอรส พร้อมทั้งบริวาร ทรงยังชนเหล่านั้นทั้งหมด
ให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ประทับท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ
พระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ครั้งเดียว.

ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสาม-
หมื่น ผู้ข้ามพ้นโอฆะ ผู้หักรานมัจจุได้แล้ว.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอฆานํ ได้แก่ โอฆะมีกาโมฆะเป็นต้น
คำนี้เป็นซึ่งของโอฆะ 4. โอฆะเหล่านั้นของผู้ใดมีอยู่. ย่อมคร่าผู้นั้นให้จมลง
ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โอฆะ. โอฆะเหล่านั้น พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ
ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ความว่า ผู้ก้าวล่วงโอฆะ 4 อย่าง แม้ในคำว่า
ภิชฺชิตานํ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มจฺจุยา ก็คือ มจฺจุโน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้า
ปัพพตะ
กรุงมิถิลนคร. ครั้งนั้น พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร ทรงสดับ
ข่าวว่า พระโกนาคมนะพุทธเจ้าผู้เป็นที่มาแห่งสรรพสัตว์ผู้ถึงสรณะ เสด็จถึง
กรุงมิถิลนครแล้ว จึงเสด็จออกไปรับเสด็จ ถวายบังคมนิมนต์พระทศพลถวาย
มหาทาน ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับจำพรรษา ณ มิถิลนครนั้น
บำรุงพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกตลอดไตรมาส ถวายของมีค่ามากเช่น
ผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำในเมืองเมืองจีน ผ้ากัมพล ผ้าแพร ผ้าเปลือก
ไม้ ผ้าฝ้ายเป็นต้น ผ้าเนื้อละเอียด ฉลองพระบาทประดับทอง และบริขารอื่น
เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น
ว่า ในภัทรกัปนี้นี่แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ลำดับนั้นมหาบุรุษนั้นสดับ
คำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบริจาคราชสมบัติยิ่งใหญ่
ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า